วัตถุประสงค์
เพื่อสำรวจระดับและสาเหตุของความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement) ในทุกหน่วยงาน และทุกระดับ ขององค์กร ใน 3 ด้าน คือ
- (1) ความผูกพันกับองค์กร (Organizational Engagement)
- (2) ความผูกพันกับงาน (Work Engagement)
- (3) ความรู้ความสามารถในงานตามการรับรู้ของตนเอง (Perceived Job Competence)
เราวัดทั้งระดับความผูกพัน และ ปัจจัยที่ส่งผล ต่อระดับความผูกพัน ตามแนวความคิดทางจิตวิทยาองค์กร
เพื่อนำผลการสำรวจ ไปจัดทำแผนยกระดับ ความผูกพันกับงาน ความผูกพันกับองค์กร และการรับรู้ระดับความรู้ความสามารถในงานของพนักงาน
อย่างชัดเจนตรงประเด็น
|
กรอบแนวความคิด
(1) | Organizational Engagement คือความผูกพันกับองค์กร ภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร มีส่วนร่วมในงานต่าง ๆ ขององค์กรอย่างกระตือรือร้น พร้อมที่จะทำสิ่งที่นอกเหนือหน้าที่ของตนเพื่อองค์กร อยากให้องค์กรประสบความสำเร็จ และตั้งใจที่จะทำงานอยู่กับองค์กร โดยไม่คิดจะลาออก
|
(2) | Work Engagement คือความผูกพันกับงาน IN กับงาน ให้เวลากับงาน สนุกกับงาน ใจจดจ่อกับงาน และทุ่มเท ความพยายามที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่ดีที่สุด |
PTS Employee Engagement Model
เครื่องมือและหัวข้อที่สำรวจ
เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสำรวจที่ สร้างขึ้นเพื่อวัดแต่ละหัวข้อที่สำรวจโดยเฉพาะ ตามที่ระบุในกรอบแนวความคิดข้างต้น
วิธีการตอบแบบสำรวจผ่านระบบ Online ของ PTS
|
การรายงานผล
ผู้รับการสำรวจ
บุคลากรทุกระดับตำแหน่งขององค์กร
เวลาในการตอบแบบสอบถาม
ผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้เวลาคนละประมาณ 15-20 นาที รายงานผลการสำรวจ 3-4 สัปดาห์ หลังจากได้ข้อมูลครบถ้วน
Engagement แตกต่างจาก Satisfaction
- Satisfaction หมายถึง ความพึงพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ ของการทำงาน เช่น การมอบหมายงาน การบังคับบัญชาของหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน สิ่งอำนวยความสะดวก การสนับสนุน ความยอมรับ ผลตอบแทน ความเป็นธรรม สภาวะแวดล้อม การบริการของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฯลฯ
- Engagement หมายถึง ความคิด การกระทำ และความรู้สึกผูกพัน ต่อบางสิ่งบางอย่าง จะมีพลังในการทำสิ่งนั้น จะอุทิศตนและมีความรู้สึกร่วมในสิ่งนั้นเสมือนว่าตนเองเป็นเจ้าของในสิ่งนั้น
- Engagement กับสิ่งใด ไม่จำเป็นต้องทำให้เกิด Satisfaction ในสิ่งนั้น
|