|
พีทีเอสให้บริการอะไรบ้าง
พีทีเอส มีบริการใน 4 ด้านคือ
- 1. จำหน่าย สิทธิการใช้แบบทดสอบ ในการประเมินและคัดเลือกผู้สมัครงานและบุคลากรขององค์กร
- 2. สร้าง แบบทดสอบ และแบบประเมินต่าง ๆ ตามความต้องการของแต่ละองค์กร
- 3. ดำเนินการทดสอบและประเมิน บุคลากรขององค์กรด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ของ PTS เช่นแบบทดสอบ การสัมภาษณ์แบบ EBI, เครื่องมือ Online Multi-Rater Rating แบบ 360° หรือ 180° และ Assessment Workshops
- 4. พัฒนาประสิทธิภาพบุคลากร ด้วย (1) หลักสูตรที่จัดทำขึ้นตาม Career Goal, จุดแข็ง และจุดอ่อน ตามผลการทดสอบของ PTS, ผลการสำรวจตนเอง และ IDP ของผู้รับ
การพัฒนาแต่ละคน และต่ละกลุ่มบุคคลที่มี IDP คล้ายกัน (2) วิธีการพัฒนาที่หลากหลาย เช่น Individual and Group Coaching, Experiential Active Learning, Case-Based Learning, Prject-Based Learning, etc.
|
TOP
ระบบทดสอบบุคลากรของพีทีเอส มีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือแค่ไหน
PTS มีความปลอดภัยระดับสูง เนื่องจาก
- 1. ระบบทดสอบ PTS สอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ บางแบบมีหลายชุดใช้สลับกัน และ License, Pass Codes, และ Key ของคำตอบต่าง ๆ ได้ถูกเข้ารหัสในโปรแกรมอย่างปลอดภัย
- 2. จำหน่ายแบบ B to B แต่ละองค์กรที่ซื้อสิทธิการใช้บริการของ PTS ต่างต้องรักษาสิทธิของตนเอง
- 3. PTS ไม่มีขายในท้องตลาด ไม่ใช้ในการจัดอบรม และไม่มีให้ใช้สอนตามสถาบันการศึกษา
|
TOP
แบบทดสอบพีทีเอส สร้างจากทฤษฎีของใคร มีอะไรอ้างอิง?
- แบบทดสอบพีทีเอส สร้างตามนิยามและโครงสร้างของลักษณะนิสัย ทัศนคติ ค่านิยม ความชอบ และสมรรถนะ ต่าง ๆ ของบุคคลที่ต้องการวัด อย่างถูกต้องและตรงประเด็น และแปลความหมายได้อย่างชัดเจน
หัวข้อต่าง ๆ ที่แบบทดสอบพีทีเอสทดสอบ จึงมีอย่างหลากหลาย เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้อย่างตรงตาม Values และ Competencies ขององค์กรต่าง ๆ ทั้งที่เป็นแบบ Core และแบบ Functional
- 1. PTS สร้างตามหลักการวัดและประเมินทางจิตวิทยา ซึ่งมีชื่อเรียกทางวิชาการว่า Psychometrics หรือจิตมิติ เพื่อให้มีค่าความเที่ยง (Reliability) และค่าความแม่นยำ (Validity) ในระดับสูง
- 2. PTS สร้างตาม Personal Attributes และ Competencies ต่าง ๆ ของบุคคล ตามความต้องการขององค์กรต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เจาะจง และแปลความหมายได้อย่างชัดเจนตรงประเด็น
- 3. Norms ของ PTS มาจากกลุ่มผู้สมัครงานที่แข่งขันกัน ในสถานการณ์ที่มีเดิมพันสูง (High Stake Situations) จึงเหมาะสำหรับใช้ในการทดสอบเพื่อการคัดเลือก
|
TOP
แบบทดสอบสามารถวัดผลได้ 100% หรือไม่?
- 1. ไม่มีแบบทดสอบใดที่สามารถวัดผลได้อย่างถูกต้อง 100%
- 2. แต่ PTS ได้ดำเนินการตาม 6 มาตรการ ในการสร้างระบบการทดสอบ จึงมีความถูกต้องและเชื่อถือได้สูง ดังนี้
- (1) ดำเนินการสร้างแบบทดสอบตามหลัก Psychometrics อย่างเคร่งครัด และคัดเลือกข้อ และการรวมกลุ่มของข้อ อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อไห้มี Reliability อยู่ในระดับสูงมากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้
- (2) อ้างอิงกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานจริง และผู้สมัครงานจริงในแต่ละสายงาน
- (3) สร้างโจทย์ และข้อคำถามต่าง ๆ ที่สะท้อนสภาพการทำงานจริง
- (4) เขียนคำสั่งอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้รับการทดสอบทำตามได้อย่างถูกต้อง ไม่คลุมเครือ และมีการเตือนให้ตอบอย่างถูกต้อง และรอบคอบ
- (5) มีการตรวจสอบคำตอบของผู้รับการทดสอบ ก่อนที่จะดำเนินการประมวลผล คำตอบส่วนใดที่พบว่า หรือสงสัยว่าเชื่อถือไม่ได้ ก็จะปรากฏในรายงานผล และแนะนำสิ่งที่องค์กรควรทำต่อผู้รับการทดสอบที่ตอบอย่างเชื่อถือไม่ได้ เช่นการสัมภาษณ์เจาะลึกเพิ่มเติม ให้สอบใหม่ หรือตัดสินไม่ให้ผ่าน
- (6) รายงานผลการทดสอบเป็นคะแนน และกราฟ พร้อมคำอธิบายอย่างกระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย และเข้าใจตรงกัน อย่างถูกต้อง ตรงประเด็น ไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาแปลผลอีก ทำให้สามารถลดความคลาดเคลื่อนในการอ่านรายงานผลได้มาก
- 3. แบบทดสอบของ PTS หากนำไปใช้อย่างถูกต้อง จะช่วยลด Human Errors ในการประเมินได้มาก และถ้าหากใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ เช่น การสัมภาษณ์แบบ EBI, เครื่องมือ Multi-Rater Rating แบบ 360° หรือ 180° และ Assessment Workshops ก็จะสามารถลดความผิดพลาดในการประเมินได้มากขึ้นอีก
|
TOP
ถ้าผู้สมัครงานบางรายเคยทำแบบทดสอบพีทีเอสมาแล้ว จากหน่วยงานเดิม หากมาทำอีกครั้งจะเกิดผลอะไรบ้าง?
- 1. แต่ละบริษัทจะมีเกณฑ์ในการคัดเลือกพนักงานไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายและเกณฑ์เกี่ยวกับค่านิยม ลักษณะบุคลิกภาพ และสมรรถนะต่าง ๆ ที่ต้องการสำหรับแต่ละตำแหน่งงาน
แม้ในตำแหน่งงานเดียวกัน แต่ละบริษัทก็อาจมีเกณฑ์ที่แตกต่าง เช่นบริษัท ก. ต้องการคนที่มีบุคลิกภาพความเป็นผู้นำสูง แต่บริษัท ข. กลับต้องการคนที่มีความซื่อสัตย์สูง ดังนั้นแม้ว่าผู้สมัครงานรายนี้จะเคยทำแบบทดสอบชุดนี้มาแล้วจากหน่วยงานเดิม ก็สามารถให้ทำใหม่ได้
- 2. ผู้สมัครงานที่เคยทำแบบทดสอบมาแล้ว ส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงผลของการทดสอบ และไม่ทราบถึงคำตอบที่ถูกต้องเป็นอย่างไร จึงไม่มีผลในการวิเคราะห์ผลของการทำแบบทดสอบ
|
TOP
|
|