PTS Training & Testing
 

Cognitive Aptitude Test
แบบทดสอบความถนัดทางปัญญา

ความถนัดทางปัญญา (Cognitive Aptitudes) หมายถึงความสามารถในการรับรู้ เข้าใจ จับประเด็น ใคร่ครวญใช้เหตุผลตามหลักตรรกะ คิดวิเคราะห์ว่าอะไรเกิดจากอะไร และจะนำไปสู่อะไร เข้าใจการทำงานของระบบ สามารถจับหลักเกณฑ์จากสิ่งที่ประสบและเรียนรู้ด้วยตนเอง

List of Aptitude Items

แบบทดสอบความถนัดทางปัญญา Tailor made (customized) มีหัวข้อ 10 หัวข้อที่สามารถเลือกได้ ดังนี้

ที่หัวข้อที่ทดสอบจำนวนข้อ/เวลาทดสอบ
(โดยประมาณ)
1.ความละเอียดรอบคอบ
(Attention to Details)
25 ข้อ / 15 นาที
2.ความถนัดตัวเลข
(Numeric Aptitude)
20 ข้อ / 25 นาที
3.ความถนัดภาษาไทย
(Thai Language Aptitude)
25 ข้อ / 15 นาที
4.การจับประเด็น
(Issue Identification)
20 ข้อ / 15 นาที
5.มิติสัมพันธ์
(Spatial Relation)
20 ข้อ / 15 นาที
6.เหตุผลเชิงตรรกะ
(Logical Reasoning)
20 ข้อ / 15 นาที
7.การคิดวิเคราะห์
(Analytic Thinking)
20 ข้อ / 15 นาที
8.การคิดเชิงระบบ
(Systematic Thinking)
20 ข้อ / 20 นาที
9.การคิดเชิงกลยุทธ์
(Strategic Thinking)
30 ข้อ / 20 นาที
10.ความสามารถในการเรียนรู้
(Learning Ability)
20 ข้อ / 15 นาที

คำนิยามหัวข้อความถนัดทางปัญญา

ที่หัวข้อที่ทดสอบนิยาม
1.ความละเอียดรอบคอบ
(Attention to Details)
การสังเกตเห็นความแตกต่างในรายละเอียด และ มองเห็นจุดบกพร่องของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
2.ความถนัดตัวเลข
(Numeric Aptitude)
ความสามารถในการคิดคำนวณขั้นพื้นฐาน สามารถคิดเลขในใจอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว มองเห็นความผิดปกติของตัวเลขอย่างรวดเร็ว สามารถคิด คำนวณเชิงตัวเลขและเชิงสัญลักษณ์ ในการแก้ปัญหาที่ต้องประสบในการทำธุรกิจและการทำงาน
3.ความถนัดภาษาไทย
(Thai Language Aptitude)
ความสามารถในการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องตามหลักภาษา
4.การจับประเด็น
(Issue Identification)
ความสามารถในการจับและแยกแยะประเด็นต่าง ๆ ในการสื่อสาร การนำเสนอ และการประชุม การจับประเด็นอย่างถูกต้อง ช่วยให้เกิดความกระจ่าง และทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันในเรื่องต่าง ๆ ทำให้ลดความขัดแย้ง และทำให้มอง เห็นทางออกในแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง ตรงประเด็น และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้้อง
5.มิติสัมพันธ์
(Spatial Relation)
ความสามารถในการคิดหมุนภาพในสมอง และหาความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับพื้นที่
6.เหตุผลเชิงตรรกะ
(Logical Reasoning)
ความสามารถในการคิดเชิงเหตุและผลตามหลักตรรกะ ความสามารถในการประเมินข้อสรุปต่าง ๆ ด้วยหลักตรรกะและด้วยข้อมูล ว่ามีความถูกต้องหรือไม่ และข้อสรุปแต่ละข้อตังอยู่บนสมมติฐาน หรือ Assumption อะไร ความถนัด เหตุผลเชิงตรรกะ เป็นพื้นฐานของการนำเสนอ การคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจอย่างถูกต้องในการทำงานต่าง ๆ
7.การคิดวิเคราะห์
(Analytic Thinking)
การแยะแยะและเปรียบเทียบ เพื่อค้นหาคำตอบต่อข้อสงสัยต่าง ๆ เช่นการค้นหาสาเหตุของปัญหา และการหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ความถนัดคิดวิเคราะห์เป็นพื้นฐานของการแก้ปัญหาอย่างตรงประเด็น
8.การคิดเชิงระบบ
(Systematic Thinking)
ความเข้าใจการทำงานของระบบ เข้าใจลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำงาน สามารถเชื่อมโยงอย่างถูกต้องว่าอะไรเกิดจากอะไร จะนำไปสู่อะไร และจะแก้ไขอย่างไร ความถนัดคิดเชิงระบบ เป็นความถนัดทางปัญญาในระดับสูง
9.การคิดเชิงกลยุทธ์
(Strategic Thinking)
ความสามารถในการเข้าใจสถานการณ์ คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น และคิดหาวิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
10.ความสามารถในการเรียนรู้
(Learning Ability)
ความสามารถในการค้นพบหลักเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการสังเกต ตั้งสมมติฐาน ทดสอบสมมติฐาน และสรุปผลด้วยตนเองอย่างถูกต้อง

หากท่านสนใจแบบทดสอบ Tailor made (customized)




หัวข้อที่ใกล้เคียง: แนะนำระบบทดสอบบุคลากรพีทีเอส
Printable View    

บริษัท อบรมและทดสอบ พีทีเอส จำกัด
77/280 ชั้น 21 ราชเทวีทาวเวอร์ ถนนพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
© Copyright Since 2001, Professor Dr. Chaiyaporn Wichawut. All rights reserved.